จากกรณีราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 ซึ่งมีการปรับแก้คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ได้รับเบี้ยผู้สูงอายุ “ต้องเป็นผู้ที่ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ” ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กำหนดซึ่งภายหลังจากที่หลักเกณฑ์นี้ถูกประกาศออกมาเริ่มมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ตามมาจำนวนมาก จากประชาชนหลายพื้นที่ทั่วประเทศ
"กฤษฎีกา" วอนอย่าตีประเด็น "เบี้ยผู้สูงอายุ" เหตุการเมืองประเทศวุ่นพอแล้ว
ฉบับเต็ม! ปรับเกณฑ์จ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ยกเลิกถ้วนหน้า ?
เสียงค้านจากประชาชน เกณฑ์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุใหม่
เริ่มตั้งแต่ จังหวัดเชียงใหม่
นายสุรเชษฐ์ บุญเทพ อายุ 75 ปี ประธานชมรมผู้สูงอายุจังหวัดเชียงใหม่ ไม่เห็นด้วยกับการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ดังกล่าว โดยบอกว่าจะมีผลกระทบอย่างแน่นอนกับกลุ่มคนที่กำลังจะเข้าสู่วัย 60 ปีและควรต้องได้รับสวัสดิการนี้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยเฉพาะกลุ่มคนอายุ 60 ปี ที่ยังมีสุขภาพแข็งแรงสามารถทำงานเลี้ยงชีพและมีรายได้เกินกว่าที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติกำหนดที่จะไม่ได้รับสิทธิ์ แต่ในระยะยาวด้วยสภาพร่างกายที่อาจจะทำงานหาเงินไม่ได้อีกต่อไป หรือ ปัญหาทางเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุกลุ่มนี้ก็จะได้รับผลกระทบ ดังนั้นในการแก้ไขหลักเกณฑ์หรือกำหนดระเบียบเงื่อนไข คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติจะต้องมองในประด็นนี้ให้ขาดและจะต้องชัดเจนว่าเมื่อวันหนึ่งที่คนกลุ่มนี้ไม่มีรายได้จะสามารถขอทบทวนเพื่อคืนสิทธิ์ให้ได้หรือไม่
“ขอเสนอให้ชะลอหรือทบทวนระเบียบมาตรการให้ดี ตนเองในฐานะตัวแทนผู้สูงอายุในภาคประชาสังคม อยากจะให้เกิดความเท่าเทียมในสวัสดิการส่วนนี้ เพราะการปรับหลักเกณฑ์ที่จะทำให้บางคนเสียสิทธิ์เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องเพราะเกี่ยวข้องกับเรื่องของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทุกคนมีสิทธิ์เท่ากัน จะไปมองว่าคนนี้รวยหรือจนก็ไม่น่าจะถูกต้อง ที่สำคัญเบี้ยผู้สูงอายุ 600 บาท หรือวันละ 20 บาท ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพอยู่แล้ว”นายสุรเชษฐ์ กล่าว
จังหวัดมหาสารคามคำพูดจาก เว็บสล็อตเว็บตรง
ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ตลาดสดเทศบาลเมืองมหาสารคาม สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีดังกล่าว ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ได้รับฟังข่าวสารมาบ้าง แต่ยังไม่ทราบถึงรายละเอียดหนือเกณฑ์ปฏิบัติว่าเกณฑ์แบบใหม่จะออกมาเป็นอย่างไร โดยนางสาวธนารัตน์ อรุณโน แม่ค้าขายปลาทูในตลาดสดเทศบาลเมืองมหาสารคคาม กล่าวว่า หากเป็นคนหาเช้ากินค่ำ ก็ค่อนข้างที่จะลำบาก เพราะไม่รู้ว่าจะเอาเกณฑ์อะไรมาวัดว่าเป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือรายได้น้อย จึงอยากให้ภาครัฐไปตรวจสอบข้าราชการบำนาญที่รับเบื้ยผู้สูงอายุซ้ำซ้อนมากกว่า ส่วนเกณฑ์ผู้สูงอายุแบบใหม่ต้องกำหนดกฎเกณฑ์ให้ชัดเจน ที่ผ่านมารัฐเคยจ่ายมาแบบไหนก็อยากให้คงไว้เหมือนเดิม เมื่อถึงอายุ60ปี เพราะถือเป็นสิทธิที่ประชาชนควรจะได้รับ เพราะอย่างน้อยก็จะได้มาช่วยในเรื่องของค่าน้ำค่าไฟ ก็ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้
จังหวัดขอนแก่น
ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สำรวจความคิดเห็นประชาชนในเขตเทศบาลนครขอนแก่นทั้งผู้ที่ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและที่กำลังจะได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ หลังมีข่าวออกมาว่าจะมีการปรับเปลี่ยนเกณฑ์รับเบี้ยผู้สูงอายุใหม่จึงทำให้ประชาชนหลายคนรู้สึกกังวลว่าจะไม่ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อไปในอนาคต โดย น.ส.อุดม วงศาเนา อายุ 59 ปี แม่ค้าตลาดสดเทศบาลนครขอนแก่น กล่าวว่า รู้สึกกังวลหลังมีข่าวออกมาว่าจะมีการปรับเกณฑ์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุใหม่และกลัวจะไม่ได้เพราะตอนนี้อายุ 59 ปีแล้ว ปีหน้าจะได้รับเบี้ยแล้วถ้ามีการปรับใหม่กลัวว่าจะไม่ถูกพิจารณาเพราะว่าเกณฑ์ใหม่จะมีการพิจารณาผู้มีรายได้น้อยไม่เพียงพอต่อการยังชีพเกณฑ์นี้จะเชื่อถือได้อย่างไร เพราะก่อนหน้านี้ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบัตรคนจน ตัวเองยังไม่ได้รับการพิจารณา และไม่ได้รับสวัสดิการอะไรที่รัฐบาลออกมาช่วงก่อนหน้านี้ ซึ่งคนจนจริงๆ จะไม่ค่อยได้รับการพิจารณา
“อยากฝากถึงรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารฝากให้ใส่ใจผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น อยากให้ตรวจสิทธิ์ผู้สูงอายุให้ดีว่าคนที่ได้ควรจะได้จริงหรือไม่ บางคนมีเยอะเงินแต่ก็ยังได้คนจนจริงๆกลับไม่ได้สิทธิ์อยากให้ปรับเงินขึ้นอีกเล็กน้อย น่าจะช่วยแต่ละเดือนได้เยอะ" น.ส.อุดมกล่าว
ด้านนายสมัย แสนวงค์ อายุ 67 ปี กล่าวว่า ได้ยินข่าวว่าจะมีการปรับเกณฑ์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุใหม่รู้สึกกังวลว่าจะถูกตัดเบี้ยตรงนี้ออกไปเพราะการพิจารณาใหม่จะดูจากการที่ปรับผู้มีรายได้น้อย รายได้ไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพพอปรับเกณฑ์เราอาจจะถูกมองว่ามีรายได้จากการค้าขายเลยรู้สึกกลัวว่าจะไม่ได้เบี้ยผู้สูงอายุ โดยตอนนี้อายุ 67 ปี ได้เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเดือนละ 600 บาท อยากให้ปรับขึ้นอีกเป็นเดือนละ 1,000 บาท จึงอยากฝากถึงรัฐบาลชุดใหม่ที่กำลังจะเข้ามาอยากฝากพิจารณาเบี้ยผู้สูงอายุตามเดิมที่เคยได้อยากให้ผู้สูงอายุได้เบี้ยนี้ทุกคน
จังหวัดนครราชสีมา
ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ไปยังชุมชุนหนองไผ่ล้อมพัฒนา ต.หนองไผ่ล้อม อ.เมือง จ.นครราชสีมา เพื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับเกณฑ์จ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุใหม่ โดยนางดวงใจ สัมฤทธิ์ อายุ 59 ปี ชาวชุมชนหนองไผ่ล้อมพัฒนา กล่าวว่า ตนเพิ่งจะไปลงทะเบียนประสงค์ขอรับเบี้ยผู้สูงอายุที่เทศบาลนครนครราชสีมา ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็ได้แจ้งกลับมาว่าเงินจะเข้าบัญชีภายในเดือนตุลาคมปี 2567 แต่ถ้าหากเกณฑ์ใหม่ที่ออกมาที่มีการตรวจสอบรายได้ตนก็คงรู้สึกท้อใจและไม่เห็นด้วยกับกฎเกณฑ์ใหม่เนื่องจากไม่อยากให้ทางรัฐบาลเอารายได้ของประชาชนมาเป็นชี้วัดในเรื่องสิทธิในการรับเบี้ยผู้สูงอายุ ซึ่งตนมองว่าเรื่องนี้ไม่ยุติธรรมสำหรับคนที่จะมีอายุเข้าเกณฑ์รับเบี้ยผู้สูงอายุรายใหม่ ซึ่งถ้าย้อนกลับไปดูในช่วงที่ผ่านมาผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยผู้สูงอายุบางคนก็มีฐานะมีเงินส่วนข้ออ้างเกี่ยวกับว่าทางรัฐบาลนั้นไม่มีเงินและเป็นหนี้นั้นเป็นในส่วนของรัฐบาลต้องรับผิดชอบส่วนเงินเบี้ยผู้สูงอายุนั้นเป็นสิทธิที่ประชาชนควรที่จะได้รับ ซึ่งตนยืนยันว่าควรจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุแบบถ้วนหน้า